- โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เข้าเกณฑ์ของโครงการ ด้วยวงเงิน 90,000 บาท ต่อปี
ว่าด้วย ข้อ 2 กลุ่มสาขาวิชา สาธารณสุข พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา เรื่อง กำหนดหลักสูตร/ประเภทวิชา และ สาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน สำหรับนิสิต หรือนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
- กรณี บิดา+มารดา,ผู้ปกครอง มีรายได้ไม่ถึง 360,000 บาท ต่อปี สามารถขอรับค่าครองชีพได้ 3,000 บาท ต่อเดือน
- กรณี บิดา+มารดา,ผู้ปกครอง มีรายได้เกิน 360,000 บาท ต่อปี ไม่สามารถขอรับค่าครองชีพได้
- กรณี นักศึกษาเคยกู้กยศ.หรือกรอ.มาแล้วจากสถาบันในระดับอุดมศึกษาอื่นสามารถสมัครได้ โดยคณะกรรมการกองทุนจะพิจาณาถึงความเหมาะสม
- เกณฑ์และหลักฐานที่ต้องใช้สมัคร
- เกณฑ์การสมัครขอพิจารณารับทุนโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต(กรอ.)
- นักศึกษาที่สอบผ่านแล้วสามารถ กรอกข้อมูลการสมัครได้ที่ eservices.studentloan.or.th ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม (สมัครได้เฉพาะนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปี ที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 เท่านั้น)
- กรณีผู้กู้รายเก่า (กยศ.) จะสามารถกู้ได้ด้วยระบบ กยศ. : ลักษณะที่ 1 เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ต่อจากการกู้เดิม โดยนำหลักฐานการกู้มาประกอบด้วย
- กรณีผู้กู้รายใหม่ (กรอ.) จะสามารถกู้ได้ด้วยระบบ กรอ. : ลักษณะที่ 2 เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักฯ
- หลักฐานที่ต้องใช้สมัคร
- แบบคำขอกู้จากระบบ eservices.studentloan.or.th 1 ฉบับ
- แบบคำขอกู้ยืมเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัย 1 ชุด
- หลักฐานการแสดงรายได้ครอบครัว
- กรณีบิดา-มารดา ประกอบอาชีพที่มีสังกัด (ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัท พนักงาน ลูกจ้าง ฯลฯ) ให้ขอแบบรับรองรายได้จากต้นสังกัด (ใช้ฉบับจริง)
- กรณีบิดา-มารดา ประกอบอาชีพส่วนตัว (เกษตรกร ค้าขาย แม่บ้าน ธุรกิจส่วนตัวอื่นๆ) หรือไม่ได้ประกอบอาชีพ ให้ใช้ หนังสือรับรองรายได้ครอบครัว รับรองโดยข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น นายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ ทหาร ครู ข้าราชการการเมือง ฯลฯ (ที่ไม่ใช่คนในครอบครัว) ลงนามรับรอง พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่หมดอายุ
- กรณีที่บิดา-มารดาไม่ได้อยู่ด้วยกัน ให้รับรองรายได้เฉพาะบิดา หรือ มารดาเท่านั้น
- แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยของบิดาและมารดา หรือผู้ปกครอง วาดโดยละเอียด แบบฟอร์มอยู่ใน แบบคำขอกู้ยืมเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัย
- ภาพถ่ายที่อยู่อาศัยของบิดาและมารดา หรือผู้ปกครอง จำนวน 2 ภาพ แบบฟอร์มอยู่ใน แบบคำขอกู้ยืมเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัย
- สำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านของนักศึกษา อย่างละ 1 ฉบับ
- สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (มัธยมศึกษาปีที่ 6) 1 ฉบับ
- สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 (ปีการศึกษาที่ขอกู้) 1 ฉบับ
- สำเนาสัญญากู้ยืมเงินจากสถานศึกษาเดิม (เฉพาะผู้กู้รายเก่า)
- สำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านของบิดาและมารดา อย่างละ1 ฉบับ
- กรณีบิดาและมารดาหย่าร้าง ให้แนบสำเนาใบหย่า
- กรณีบิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม ให้แนบสำเนาใบมรณบัตร *ถ้าไม่มีใบหย่าหรือใบมรณบัตร ให้ใช้ หนังสือรับรองสถานภาพของบิดาและมารดา รับรองโดยข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น นายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ ทหาร ครู ข้าราชการการเมือง ฯลฯ (ที่ไม่ใช่คนในครอบครัว) ลงนามรับรอง พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่หมดอายุ
- กรณีที่บิดา-มารดาถึงแก่กรรม /ไม่สามารถติดต่อได้ ให้รับรองสถานภาพผู้ปกครอง หนังสือรับรองสถานภาพของบิดาและมารดา รับรองโดยข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น นายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ ทหาร ครู ข้าราชการการเมือง ฯลฯ (ที่ไม่ใช่คนในครอบครัว) ลงนามรับรอง พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่หมดอายุ
- หลักฐานการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมจิตอาสาไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง (นักศึกษาสามารถใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานภายนอก หรือ หนังสือรับรองการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมจิตอาสา)
- เกณฑ์การสมัครขอพิจารณารับทุนโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต(กรอ.)
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เข้าเกณฑ์ของโครงการ ด้วยวงเงิน 90,000 บาท ต่อปี
ว่าด้วย ข้อ 2 กลุ่มสาขาวิชา สาธารณสุข พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา เรื่อง กำหนดหลักสูตร/ประเภทวิชา และ สาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน สำหรับนิสิต หรือนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
- ทุนเพชรราชมงคล ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ทุนให้เปล่า ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการคณะพยาบาลศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ทุนโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละโรงพยาบาล ในแต่ละป