แบบสอบถาม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ กับ พฤติกรรมการป้องกันโรคและพฤติกรรม การป้องกันการระบาดของโรค โควิด-19 (COVID -19 )

คำชี้แจงผู้วิจัย

สำหรับผู้ที่เข้าร่วมในโครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อด้านการป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันการระบาดของโรคโคโรน่า ไวรัส (COVID-19) ของ นักศึกษาพยาบาล และบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2563

ในเอกสารนี้หากมีข้อความที่ท่านอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ โปรดสอบถามหัวหน้าโครงการวิจัย หรือผู้แทนให้ช่วยอธิบายจนกว่าจะเข้าใจดีได้

ชื่อผู้วิจัย    ดร. มาลี  เกื้อนพกุล       เบอร์โทรศัพท์มือถือ  081-988-9316    E-mail malee_g@rmutt.ac.th ,  Nart.geo54@gmail.com

สถานที่วิจัย  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี

ผู้ให้ทุน/ผู้สนับสนุนการวิจัย   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี  ราชมงคลธัญบุรี

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

โครงการวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อ  ต้องการทราบถึง พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันโรค Corona virus -19  ซึงเป็นโรคที่มีการระบาดได้เร็ว และระบาดในวงกว้างใน บุคลากร และ นักศึกษาพยาบาลซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของประชาชน  หากนักศึกษามีพฤติกรรมการป้องกันโรคที่ไม่ถูกต้องเมื่อกำลังศึกษา ผู้บริหารและ อาจารย์ผู้สอนจะต้องรีบทำการแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บุคลากร และในนักศึกษาให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องก่อนก้าวเข้าสู่วิชาชีพ   ในขณะเดียวกันบุคลากรและอาจารย์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล ธัญบุรี เจ้าหน้าที่ถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนทั่วไป อาจารย์ พยาบาลเป็นบุคลที่จะต้องสร้างความรู้และแรงจูงใจให้ตัวนักศึกษามีความรู้ ตระหนักถึงการปฏิบัติงานบนหลักของความสะอาด ปราศจากเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคโรคใดๆก็ตามจากตัวผู้ป่วยสู่สิ่งแวดล้อม และจากสิ่งแวดล้อมสู่ตัวเองและผู้ป่วย โรคโคโรน่า ไวรัสเป็นตัวแทน ที่คณะผู้วิจัยนำมาศึกษาถึงพฤติกรรมการป้องกันตนเองและการป้องกันการระบาดของโรคโคโรน่า ไวรัส ซึงความรู้ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการป้องกันโรคและการระบาดของโรคในบุคลที่มีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนหากมีพฤติกรรมที่ยังไม่เป็นที่พอใจ ผู้บริหารต้องมีการปรับปรุงอย่างยิ่ง

ท่านได้รับเชิญให้เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้เพราะท่านเป็น   บุคลากร และ นักศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  ธัญบุรี ชั้นปีที่ 1 และ 2 ซึ่งกำลังเรียนภาคทฤษฎี และจะต้องฝึกภาคปฏิบัติมาก ขึ้นในปีต่อๆไปหากท่านมีข้อบกพร่องในการป้องกันตนเองแล้วท่านอาจได้รับอันตรายต่อตัวท่านเอง และส่งผลให้มีการแพร่ระบาดของโรคได้ในวงกว้าง คณะผู้วิจัยจึงอยากศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรน่า ไวรัส ของท่าน เพื่อนำข้อมูลมาประมวลผลในการวางแผน ในการจัดการอบรม ให้ความรู้ ในการป้องกันตนเอง และป้องกันการระบาด ของโรค เพื่อป้องกันตัวท่านจากโรค และป้องกันการระบาดของโรคจากพฤติกรรมที่ อาจส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคต่อไป และสามารถให้ผู้รับบริการจากท่านต่อไป ให้มีประสิทธิภาพต่อไป

ขั้นตอนการปฏิบัติตัวหากท่านเข้าร่วมโครงการวิจัย

เมื่อท่านได้รับเลือกให้เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยจะชี้แจงวัตถุประสงค์  และตอบแบบสอบถาม  จนท่านเข้าใจหลังจากนั้น  ท่านจะได้ตอบ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถาม ถามถึงความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรน่า ไวรัส (COVID-19) ของท่าน ซึ่งท่านจะร่วมตอบแบบสอบถาม on line บน เวปไซต ของคณะพยาบาลศาสตร์

ประโยชน์ที่อาจได้รับ 

คณะผู้วิจัย จะนำผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ไปประมวลผลในภาพรวมถึงพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรน่า ไวรัส (COVID-19) ของนักศึกษาของพยาบาลของชั้นปีที่ 1 และ2 และ บุคลากร  คณะพยาบาลศาสตร์ ผลการจัดการศึกษาวิจัยจะนำเสนอต่อผู้บริหารในภาพรวม  เพื่อนวางแผนการบริหารและจัดการอบรมต่อไป

การเข้าร่วมโครงการวิจัยของท่านต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ

หากท่านไม่เข้าร่วมในโครงการวิจัยนี้จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  ในการ ปฏิบัติงานและในการ เรียนของท่าน ท่านยังคงสถานะเป็น บุคลากรของคณะ และเป็นนักศึกษาพยาบาล ของคณะพยาบาลศาสตร์ และจะได้รับการดูแลเช่นเดียวกับที่ท่านได้รับตลอดไปตามวิธีการที่เป็นมาตรฐาน

หากมีข้อข้องใจที่จะสอบถามการวิจัย สามารถสอบถาม ได้ที่  ดร. มาลี เกื้อนพกุล บ้านเลขที่ 2/1 ถนนพญาไท แขวง ทุ่งพญาไท เขตราชเทวี  กรุงเทพ 10400 หรือที่ 081-988-9316 หรือที่ Email Malee_g@rmutt.ac.th หรือ Nart.geo54@gmail.com   ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ค่าตอบแทนที่จะได้รับ

ท่านจะไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนใด ๆ จากการเข้าร่วมในการวิจัย คณะผู้วิจัยจะมอบของสมนาคุณเล็กๆน้อยเพื่อแสดงความขอบคุณท่าน (ราคาประมาณ 50 บาท) ในการเข้าร่วมโครงการ  หลังจากคณะผู้วิจัยไดประมวลผลการวิจัยในภาพร่วม  ในชั้นเรียน และในห้องประชุมบุคลากรภายหลัง  หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งด้านประโยชน์และโทษที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะแจ้งให้ทราบโดยรวดเร็วไม่ปิดบัง

 

การรักษาความลับ

ข้อมูลส่วนตัวของท่าน และการตอบแบบสอบถามของท่านจะถูกเก็บรักษาไว้ ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะเป็นรายบุคคล แต่จะรายงานผลการวิจัยเป็นข้อมูลส่วนรวม ข้อมูลที่อาจนำไปสู่การเปิดเผยตัวท่าน จะได้รับการปกปิดและจะไม่เปิดเผยแก่สาธารณชน ในกรณีที่ผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ ชื่อและที่อยู่ของท่านจะต้องได้รับการปกปิดอยู่เสมอ โดยจะใช้เฉพาะรหัสประจำโครงการวิจัยเท่านั้น

สิทธิ์ของผู้เข้าร่วมในโครงการวิจัย

ในฐานะที่ท่านเป็นผู้เข้าร่วมในโครงการวิจัย ท่านจะมีสิทธิ์ดังต่อไปนี้

1.ท่านจะได้รับทราบถึงลักษณะและวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้

2                  ท่านจะได้รับการอธิบายเกี่ยวกับระเบียบวิธีการของการวิจัย

  1. ท่านจะได้รับการอธิบายถึงความเสี่ยงและความไม่สบายที่จะได้รับจากการวิจัย
  2. ท่านจะได้รับการอธิบายถึงประโยชน์ที่ท่านอาจจะได้รับจากการวิจัย
  3. ท่านจะมีโอกาสได้ซักถามเกี่ยวกับงานวิจัยหรือขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
  4. ท่านจะได้รับทราบว่าการยินยอมเข้าร่วมในโครงการวิจัยนี้ ท่านสามารถขอถอนตัวจากโครงการเมื่อไรก็ได้ โดยผู้เข้าร่วมในโครงการวิจัยสามารถขอถอนตัวจากโครงการโดยไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ทั้งสิ้น
  5. ท่านจะได้รับสำเนาเอกสารใบยินยอมที่มีทั้งลายเซ็นและวันที่
  6. ท่านจะได้โอกาสในการตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมในโครงการวิจัยหรือไม่ก็ได้ โดยปราศจากการใช้อิทธิพลบังคับข่มขู่ หรือการหลอกลวง
  7. หากท่านมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเกี่ยวกับสิทธิของท่าน หรือผู้วิจัยไม่ปฏิบัติตามที่เขียนไว้ในเอกสารข้อมูลคำอธิบายสำหรับอาสาสมัครที่เข้าร่วมในการวิจัย ท่านสามารถติดต่อ หรือร้องเรียนได้ที่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี ได้ตลอดเวลา

สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทร. ในเวลาราชการ

ขอขอบคุณในความร่วมมือ ของท่านมา ณ ที่นี้

แชร์ไปยัง FACEBOOK